วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

ประวัติสมุนไพร

วิวัฒนาการของสมุนไพรกว่าจะมาเป็นยารักษาโรค
     สมุนไพรเป็นคลังยารักษาโรคของมนุษยชาติมาแต่ครั้งดึกดำบรรพ์ นับแต่ยุคนีแอนเดอร์ทัลในประเทศอิรักปัจจุบัน  ที่หลุมฝังศพพบว่ามีการใช้สมุนไพรหลายพันปีมาแล้วที่ชาวอินเดียนแดงในแม็กซิโกใช้ต้นตะบองเพชร(peyote) เป็นยาฆ่าเชื้อและรักษาบาดแผล ปัจจุบันพบว่า (peyote) มีฤทธิ์กล่อมประสาท (hallucinogen) ประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว ชาวสุมาเลียนได้เข้ามาตั้งรกราก ณ บริเวณแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติสปัจจุบัน คือ ประเทศอิรัก ใช้สมุนไพร เช่น ฝิ่น ชะเอม ไทม์ และมัสตาร์ด และต่อมาชาวบาบิโลเนียนใช้สมุนไพรเพิ่มเติมไปจากชาวสุมาเลียน ได้แก่ ใบมะขามแขก หญ้าฝรั่น ลูกผักชี อบเชย และกระเทียม

     ในยุคของอียิปต์โบราณมี อิมโฮเทป แพทย์ผู้มีชื่อเสียง ซึ่งต่อมาได้รับการยกย่องให้เป็นเทพเจ้าแห่งการรักษาโรคของอียิปต์ ตำราสมุนไพรที่เก่า (Papyrus Ebers) ซึ่งเขียนเมื่อ 1,600 ปีก่อนคริสตศักราช นักอียิปต์วิทยาชาวเยอรมัน ชื่อ Georg Ebers ค้นพบตำรานี้ที่อาหรับเมื่อ ปี คศ.1873 ได้กล่าวถึงตำรับสมุนไพรมากกว่า 800 ตำรับ และสมุนไพรมากกว่า 700 ชนิด เช่น ว่านหางจรเข้ เวอร์มวูด (wormwood) เปปเปอร์มินต์, เฮนเบน (henbane) มดยอบ, hempdogbane ละหุ่ง mandrake รูปแบบยาเตรียมสมัยนั้น ได้แก่ ยาต้ม ยาชง ไวน์ ยาเม็ด ยาพอก ขี้ผึ้ง และยังกล่าวว่าให้ใช้ขนมปังที่มีราขึ้นปิดแผลป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งปัจจุบันได้ค้นพบยาปฎิชีวนะ ชาวจีนมีตำราสมุนไพรที่เก่าแก่ที่สุดในโลกชื่อว่า The Pen  Tsao ในตำรากล่าวถึงการใช้น้ำมันกระเบาจากต้นกระเบา (Hydnocarpus spp.) รักษาโรคเรื้อน และมีชื่อสมุนไพรอื่น ๆ เช่น hemp dagbane ,ฝิ่น, rhubarb, aconite และ ma huang (Ephedra spp.) ในตำรากล่าวว่า ma-huang ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ลดไข้ ช่วยให้กระเพาะปัสสาวะทำงานดีขึ้น ระงับไอ บรรเทาอาการทางปอดและหลอดลม ชาวอิสราเอลมี Old Testament กล่าวถึงสมุนไพรเช่น Juniper, mandrake ฝ้ายและมัสตาร์ด ชาวอินเดียมีตำราอายุรเวท ชาวฮินดู ชาวกรีก มีเอสคูลาปิอุส แห่งการรักษาโรค ใช้สัญลักษณ์งูพันคบเพลิง ซึ่งใช้เป็นสัญลักษณ์ของแพทย์ ในปัจจุบันวิธีการรักษาแบบเอสคูลาปิแอด (Aesculapiad) ประกอบด้วยการอดอาหาร อาบน้ำ และพิธีกรรมทางศาสนาที่ลึกลับ
     400 ปีก่อนคริสตศักราช ฮิปโปเครติส (Hippocrates) ได้ทำการรักษาโรคที่ดูลึกลับนั้นเป็นวิทยาศาสตร์ จึงได้รับการยกย่องให้เป็น Father of Modern Medicine หลักการของฮิปโปรเครติส เน้นเรื่องอาหาร การใช้ชีวิตประจำวัน การออกกำลังกาย แสงแดดและน้ำ เขาเน้นการป้องกันและเชื่อว่าร่างกายประกอบด้วยธาตุ 4 ธาตุ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ สุขภาพที่ดีขึ้นอยู่กับสมดุลของธาตุทั้งสี่ ถ้าร่างกายมีน้ำมากก็จะไม่สบาย แก้ไขได้โดยกำจัดน้ำ เช่น ทำให้เลือดออก ระบายขับปัสสาวะ ทำให้เหงื่อออกหรืออาเจียน ยาระบายที่ใช้ได้แก่ เมล็ดละหุ่ง อะไนส์ (anise) สมุนไพรที่ใช้ขับปัสสาวะ ได้แก่ ไทม์ ผักชีฝรั่ง Fennel คื่นไช่ ฮิปโปรเครติสได้กล่าวถึงสมุนไพรไว้ 300-400 ชนิด ถัดจากฮิปโปรเครติส ก็คือ อริสโตเติ้ล(Aristotle) และลูกศิษย์ชื่อทีโอฟราตัส (Theophratus) (100 ปีก่อนคริสตศักราช) มีตำราสมุนไพรคือ de Materia Medica เขียนโดยไดออสคอริเดส (Dioscorides) มีภาพต้นไม้มากกว่า 600 ชนิดสัตว์ 35 ชนิด แร่ธาตุ 90 ชนิด การรักษาโรคในยุคนี้เน้นหลัก 3 ประการคือ การควบคุมอาหาร การใช้ยารักษาโรค และการผ่าตัดโรคติดเชื้อส่วนมากรักษาโดยการควบคุมอาหารและการพักผ่อน
     คศ.130-200 กาเลนได้คิดค้นการสกัดการเตรียมยาจากสมุนไพรวิธีการของกาเลน ได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
     คศ.400-1500 ความรู้ทางแพทย์และการรักษาผู้ป่วยเป็นงานของโบสถ์ เพราะเชื่อว่าอาการไม่สบายเกิดจากการทำบาป
     คศ.980-1037 เป็นยุคของอาหรับ และยุคการเล่นแร่ แปรธาตุ (alchemy) ในยุคนี้มีสมุนไพรเพิ่มเติมคือ การบูร หญ้าฝรั่น ผักโขม(spinach) ราเชสหมอชาวเปอร์เซีย ได้บรรยายลักษณะของโรคหัด และกาฬโรค ชาวอิสลาม ได้ก่อตั้งโรคพยาบาล โรงเรียนแพทย์เริ่มมีการตรวจ ร่างกาย และออกใบประกอบโรคศิลปะ
     ปลายศตวรรษที่ 13 มีการผ่าตัดศึกษาร่างกายของมนุษย์ เป็นครั้งแรกในปี คศ.1543 มีตำราเล่มแรกทางกายวิภาคศาสตร์ คือ The Fabric of the Human Body ยุคนี้พาราเซลซัส (Paracelsus) นำวิชาเคมีเข้าสู่การแพทย์ เขาเป็นผู้ริเริ่มการแพทย์แผนโบราณ โฮมีโอพาที (Homoeopathy=like cures like) เขาเชื่อว่าอาการที่ไม่สบายที่ปรากฏเป็นวิธีที่ร่างกาย ต่อสู้กับโรค การใช้ยาขนาดน้อยไปทำให้เกิดอาการ เดียวกับโรคที่ทำให้เกิด จะกระตุ้นให้ระบบป้องกัน ตนเองของร่างกายต่อสู้กับโรค
     ศตวรรษที่ 13-18 ลักษณะการใช้สมุนไพรแบบดั่งดิมและใช้พืชหลายชนิด
     ศตวรรษที่ 18 - ต้นศตวรรษที่ 19 ลักษณะการใช้สมุนไพร เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงแต่น้อยมาก
     คศ. 1741-1799 นายแพทย์ชาวอังกฤษชื่อวิลเลี่ยม วิเทอร์ริง (Willium Withering) พบว่าต้นดิจิตาลิส (Digitalis purpurea) รักษาอาการบวม ต่อมามีการวิจัยและแยกสารคาร์ดิแอกกลัยโคไซด์จากพืชนี้ และใช้เป็นยารักษาโรคหัวใจในปัจจุบัน
     ระหว่างศตวรรษที่ 19 การผลิตยากระทำในโรงงานใหญ่ ๆ  อุตสาหกรรมยาเกิดจากงานวิจัยของนักเคมี
     ต้น คศ.1874 ค้นพบซาลิซิน จากต้นสนุ่น (Salix spp.) มีการสงเคาาะห์อนุพันธ์จากซาลิซินคือ แอสไพริน
     ต้น ศตวรรษที่ 20 สมุนไพรเริ่มลดบทบาท เมื่อนักวิทยาศาสตร์คิดว่า การออกฤทธิ์ของสมุนไพรขึ้นอยู่กับสารสำคัญเพียงตัวเดียว สารอื่น ๆ  ถือว่าไม่สำคัญต่อสรรพคุณของสมุนไพร การใช้วัตถุดิบในรูปสารสกัด ทำให้มีการกำหนดขนาดยาไม่ถูกต้องและการประเมินคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาทำได้ยาก ยุคนี้มีความหวังว่าจะใช้สารบริสุทธิ์ที่แยกจากสมุนไพร เพื่อการออกฤทธิ์ที่เฉพาะเจาะจง และผลิตในรูปแบบยาแผนปัจจุบัน
     คศ.1940 มีการค้นพบเพนนิซิลลินจากเชื้อรา การผลิตยาโดยการสังเคราะหฺ์ทางเคมีเลียนแบบสารจากธรรมชาติ ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร
     คศ.1950-1960 พบกลุ่มสารซาโปนิน จากพืช Mexican yam (Discorea composita) ใช้เป็นวัตถุดิบสงเคราะห์สเตียรอยด์ฮอร์โมน นี่คือจุดเริ่มต้นของการพัฒนายาฮอร์โมน งานวิจัยในยุคนี้มี 2 แนวทางใหญ่ ๆ  คืองานวิจัยยาปฎิชีวนะและฮอร์โมน
     ต้นปี 1970 การแยกวินคริสตินและวินบลาสตินจากต้นแพงพวยฝรั่ง (Catharanthus roseus) ถือว่าเป็นการค้นพบสำคัญของศตวรรษนี้
     ทัศนคติงานวิจัยสมุนไพรเปลี่ยนไป เมื่อองค์กรอนามัยโลก (WHO) ยอมรับผลสำเรจของจีนที่ใช้สมุนไพรร่วมกับยาแผนปัจจุบัน ในงานสาธารณสุขมูลฐานอัตราการตายของประชาชนปี 1949/1970 = 2.5% / 0.6% อัตราการตายของเเด็กปี 1949/1970 = 20%1.2% สถิติดังกล่าวนับเป็นการตอกย้ำความสำคัญของสมุนไพร
     เป็นที่เข้าใจกันดีว่า ยาพื้นบ้านหรือสมุนไพรที่ต้องมีการวิจัยต่อเนื่องถึงการพิสูจน์คุณสมบัติทางเภสัชวิทยา แต่ปัจจุบันยอมรับกันว่าการวิจัยทางคลินิก จะเป็นการประเมินประสิทธิภาพที่ดีกว่างานวิจัย จึงมีทิศทางที่ย้อนกลับ กล่าวคือ ให้เริ่มทดลองหากลุ่ม คุณสมบัติทางการรักษาโรค (therapeutic category) ของสมุนไพรก่อนอาจทดลองใช้ในรูปชาสมุนไพร หรือรูปแบบยาเตรียมง่าย ๆ  อื่น ๆ  เพื่อหาข้อมูลทางคลินิก ผลจากการทดลองทางคลินิก จะเป็นลู่ทางในการพัฒนายาจากสมุนไพร ทั้งนี้ต้องมีงานวิจัยทางเคมีคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาและพิษวิทยาควบคู่ไปด้วย
     ความสำคัญของสมุนไพรจะเห็นได้จากความสำเร็จของงานวิจัยพืชชิงเฮ่า (artemisia annua) ชิงเฮ่าเป็นสมุนไพรจีน ใช้รักษาไข้มาประมาณ 2,000  ปีแล้ว สรรพคุณที่ใช้รักษามาลาเรียพบเมื่อปี 1971 อนุพันธุ์ของอะเตมิซินิน (Artemisinin) ซึ่งเป็นสารสำคัญในชิงเฮ่าใช้รักษามาลาเรีย และแก้ปัญหาการดื้อยาควินิน การศึกษาเริ่มต้นจากการทดลองทางคลินิก โดยให้ยาที่เตรียมแบบวิธีพื้นบ้านกับผู้ป่วย เมื่อผลทางคลินิกปรากฎว่าทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นได้ กระตุ้นให้มีการวิจัยทางเคมี ติดตามผลทางเภสัชวิทยา และคลินิกของสารสำคัญที่แยกได้จาก ชิงเฮ่า และอนุพันธุ์อีก 4 ปีต่อมา นักวิทยาศาสตร์สามารถอธิบายกลไกการออกฤทธิ์ของยาได้ อุตสาหกรรมยาจึงผลิต ไดไฮโดรอะเตมิซินิน (dihydroartemisinin) และอะเทมีเธอร์ (artemether) และสุดท้ายสามารถให้ยาทางหลอดเลือดเพื่อรักษามาลาเรียขึ้นสมองได้
     ยุคสมุนไพรเฟื่องฟู นักวิจัยยอมรับประสิทธิภาพการรักษาโรคของสมุนไพรในรูปสารสกัด ซึ่งประกอบด้วยสารสำคัญแสดงฤทธิ์หลายตัวและสารร่วมที่มีผลต่อฤทธิ์ของสมุนไพรโดยตรง และอาจมีผลที่เสริม / ต้านฤทธิ์วิทยาการเกี่ยวกับสมุนไพรเจริญรุดหน้า องค์ความรู้ของสมุนไพรทุกด้านเพิ่มพูนและสะสม ก่อให้เกิดวิทยาการ การใช้สมุนไพรรักษาโรคที่มีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในด้านการวินิจฉัยโรค มีข้อมูลสนับสนุนประสิทธิภาพการรักษาโรคในสัตว์ทดลองและคลินิก มีวิธีการควบคุมคุณภาพ สาขาวิทยาการดังกล่าวเรียกว่า herbal medicine,phytomedicine, phytotherapy phytopharmacy, phytopharmaceuticals
     ประเทศไทยมีสมุนไพรเป็นแหล่งยารักษาโรคจำนวนมาก การพัฒนาสมุนไพรเพื่อใช้เป็นยารักษาโรคเป็นแนวทางการพัฒนาประเทศที่ถูกต้อง และมั่นคงเพราะนอกจากจะเป็นการยกระดับมาตราฐานยาจากสมุนไพรให้เข้าสู่ระดับสากลแล้ว ยังส่งผลให้กับประเทศชาติสามารถพึ่งพาตนเองได้ในด้านยา
                                                ขอขอบคุณ  ที่มา :  สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
                                                                           ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนธันวาคม 2543

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น