วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

หิ่งห้อย

      หิ่งห้อย หรือ มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ทิ้งถ่วง (Firefly Glow-wormlightening bug) ซึ่งในโลกนี้มีหิ่งห้อยอยู่ประมาณ 2000 กว่าชนิด หิ่งห้อยเป็นสัตว์ที่ให้แสงเรื่อง ๆ ที่ก้นของมัน และการที่มันพระพริบแสงนั้นเพื่อการผสมพันธุ์และการสื่อสารซึ่งกันและกัน เพื่อน ๆ เคยสังเกตุมั๊ยค่ะว่า หิ่งห้อยเมื่ออยู่รวมกันเป็นฝูงแล้วมันจะกระพริบแสงพร้อม ๆ กัน

หิ่งห้อย


      การที่เราได้พบหิ่งห้อยนั้น มันสามารถบ่งบอกได้ถึงความอุดมสมบูรณ์ และความสมดุลของธรรมชาติ โดยเฉพาะคุณสมบัติที่สำคัญของมันอีกอย่างคือ การทำลายศัตรูพืช ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่เกษตรกรรมของไทย


      กรุงเทพมหานครในอดีตนั้น บริเวณปากคลองบางลำพูเคยมีหิ่งห้อยจำนวนมาก แต่ก็ต้องสูญไปเมื่อวิถีชีวิตของผู้คนเปลี่ยนไป จนกระทั้งเมื่อปี 2542 ได้มีการบูรณะป้อมพระสุเมรุและบริเวณใกล้เคียง โดยมีการจัดสร้างเป็นสวนสาธารณะสันติชัยปราการและสร้างพระที่นั่งสันติชัยปราการ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และได้เปิดให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวทั่วไปได้เข้าไปพักผ่อนหย่อนใจ เพื่อน้อมเกล้าถวายเป็นพระราชกุศล ได้มีการปลูกต้นลำพูและเลี้ยงหิ่งห้อย เพื่ออนุรักษ์และขยายพันธุ์ ซึ่งเป็นการฟื้นฟูวิถีชีวิตของชาวบางลำพูในอดีตอีกด้วย

       สถานที่ชมหิ่งห้อยที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน เช่น ปลายโพงพาง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม, วัดศรีเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร, คลองสุนัขหอน อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร, แสมชาย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี, เกาะวัด อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเราสามารถชมหิ่งห้อยได้ในช่วงฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤาภาคม - ตุลาคม และควรเลือกชมในคืนเดือนมืด เพราะจะเห็นแสงสว่างของหิ่งห้อยได้อย่างชัดเจน
       ปัจจุบันนี้จำนวนประชากรของหิ่งห้อยลดน้อยลงมาก เนื่องจากถูกบุกรุกทำลายแหล่งที่อยู่อาศัย อีกทั้งการเที่ยวชอมหิ่งห้อยอย่างผิดวธี ซึ่งเป็นการรบกวนผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นรวมถึงหิ่งห้อยเป็นอย่างมาก ดังนั้นเราจึงไม่ควรทำตัวเป็นผู้บุกรุก แต่ควรจะปฏิบัติตนเสมือนเป็นผู้ให้และเป็นผู้มาเยี่ยมเยียน เพราะจะต้องอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ เพราะตัวเราเองก็คือส่วนหนึ่งของธรมชาติเช่นกัน ดังนั้นเราทุกคนควรร่วมมือกันและร่วมรณรงค์ โดยการช่วยเหลือดูแลรักษาธรรมชาติ โดยไม่ตัดไม้ทำลายแหล่งต้นน้ำ ไม่ทิ้งสารเคมีหรือของเสียลงในคูคลอง ไม่ส่งเสียงดังหรือส่องไฟรบกวนขณะชมหิ่งห้อย สุดท้ายช่วยกันปลูกต้นไม้ให้มีปริมาณเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นแหล่งอาศัยและขยายพันธุ์ของหิ่งห้อยต่อไป
        สุดท้ายพวกเราเคยได้ยินตำนานของหิ่งห้อยกันบ้างหรือเปล่า ซึ่งมีเรื่องเล่ามากมายจากหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยของเราก็มีกะเค้าด้วย อยากเล่าเรื่องนี้มากเลย อาจจะมีคนเคยได้ยินมาบางแล้ว แต่บางคนยังไม่เคยได้ยิน ตำนานเรื่องนี้มาจากนิยายเรื่องคู่กรรม (ที่อังศุมารินเล่าให้โกโบริฟัง) ถึงชายหนุ่มที่คนรักของเค้าจมน้ำตาย ทุกวันชายหนุ่มจะจุดตะเกียงโคม เดินตามหาหญิงสาวคนรัก ชื่อ นางลำพู ไปตามลำน้ำตลอดระยะเวลาที่มีชีวิตอยู่จนกระทั่งชายหนุ่มตายจากโลกนี้ไป หิ่งห้อยที่บินเกาะตามต้นลำพู นั้นก็คือวิญญาณที่ถือโคมของชายหนุ่มคนนั้น ที่ยังคงส่องโคมตามหาวิญญาณคนรักของตนอยู่เรื่อยไปนั่นเอง..........จบเด้อค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น