วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

การอบสมุนไพร

การใช้สมุนพรในการอบมี 2 แบบ
                    การอบสมุนไพร เป็นวิธีการบำบัดรักษาและส่งเสริมสุขภาพ ตามหลักของการแพทย์แผนไทย โดยใช้หลักการอบสมุนไพร คือ ต้มสมุนไพรหลาย ๆ  ชนิดรวมกัน ซึ่งประกอบด้วยสมุนไพรที่มี น้ำมันหอมระเหยและสมุนไพรรักษาตามอาการ สมุนไพรที่มีรสเปรี้ยวนำมาต้มจนเดือด ไอน้ำ น้ำมันหอมระเหย และสารระเหยต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่ในสมุนไพรจะออกมาสัมผัสถูกผิวหังทำให้มีผลเฉพาะที่ และสูดดมเข้าไปกับลมหายใจ มีผลต่อระบบทางเดินหายใจและผลทั่วร่างกาย ดังนั้นผลการรักษาด้วยการอบสมุนไพรที่ซึมผ่านผิวหนัง และเข้าไปกับลมหายใจซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพดังนี้
                    1.  ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตในร่างกายดีขึ้น คลายความตึงเครียด
                    2.  ช่วยชำระล้างและขับของเสียออกจากร่างกาย
                    3.  ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบรรเทาอาการปวดเมื่อย
                    4.  ช่วยทำให้ระบบการหายใจดีขึ้น
                    5.  ช่วยบำรุงผิวพรรณ บรรเทาอาการผด ผื่น คัน
                    6.  ช่วยให้น้ำหนักร่างกายลดลงได้ชั่วคราว
                    7.  ช่วยมดลูกเข้าอู่เร็วในหญิงหลังหลอด
                    8.  ช่วยให้สบายตัว ลดอาการปวดศรีษะ


มาตราฐานห้องอบสมุนไพร
                     1.  ขนาดห้อง ควรมีขนาดกว้าง 1.9 เมตร x ยาว 1.9 เมตร x สูง 2.3 เมตร เพื่อไม่ให้คับแคบเกินไปสามารถให้บริการได้ครั้งละ 3 - 4 คน
                     2.  พื้นและฝาผนัง  ควรเป็นพื้นปูนขัดหน้าเรียบ ช่วยให้ง่ายต่อการทำความสะอาด หรืออาจบุด้วยกระเบื้องเคลือบ ช่วยให้สวยงามและทำความสะอาดได้ง่ายเช่นกัน        
                     3.  ประตูห้อง  ควรปิดมิดชิดแต่ไม่มีการล็อคกลอนจากด้านใน อาจจะเจาะเป็นช่องกระจกที่สามารถมองจากภายนอกเห็นภายในห้องได้
                     4.  จำนวนห้องควรมีอย่างน้อย 2 ห้อง เพื่อแยกให้บริการสำหรับเพศชายและเพศหญิง
                     5.  เครื่องใช้สำหรับห้องอบ ได้แก่
                          -  ม้านั่งยาว  1 - 2 ตัว
                          -  เทอร์โมมิเตอร์สำหรับวัดอุณหภูมิ ภายในห้องอบอุณหภูมิ 42 - 45 องศาเซลเซียส ซึ่งสามารถตรวจสอบอุณหภูมิได้ที่ภายนอกห้อง
                          -  นาฬิกาจับเวลาซึ่งสามารถตั้งเวลาได้
                          -  เครื่องชั่งน้ำหนัก เครื่องวัดความดันโลหิตปรอทวัดไข้
                          -  หม้อต้มน้ำไฟฟ้าที่มีตระแกรงเติมและเปลี่ยนถ่ายสมุนไพรได้สะดวก มีเครื่องชีดวัดระดับน้ำภายในหม้อต้มและสามารถควบคุมการปล่อยไอน้ำที่ท่อต่อไปยังห้องอบได้ตามความเหมาะสม
                          -  พัดลมดูดอากาศ เพื่อช่วยการระบายอากาศภายในห้องบ หลังจากการใช้ห้องอบ

สมุนไพรที่ใช้ในการอบสมุนไพร
                    การใช้สมุนไพร อาจใช้สมุนไพรสดหรือสมุนไพรแห้ง ขึ้นอยู่กับการสะดวกในการหาได้ในแต่ละท้องถิ่น แต่มีสมุนไพรสดจะคุณภาพดีกว่าสมุนไพรแห้ง เพราะคุณภาพสมุนไพรสดจะลดน้อยลงขณะทำให้แห้ง การซื้อสมุนไพรแห้งอาจเก่าและเสื่อมคุณภาพได้
                    การใช้สมุนไพรสดมักไม่จำกัดชนิด อาจเพิ่มหรือลดชนิดตามความต้องการในการใช้ประโยชน์ และยากง่ายในการจัดหา และถือว่าควรมีสมุนไพรครบทั้ง 4 กลุ่ม ได้แก่
                    กลุ่มที่ 1  สมุนไพรที่มีกลิ่นหอม กลุ่มนี้มีสารสำคัญที่ออกฤทธิ์เป็น น้ำมันหอมระเหย ซึ่งช่วยรักษาโรคต่าง ๆ เช่น โรคผิวหนัง ปวดเมื่อย หวัด คัดจมูก ตัวอย่างเช่น ไพล ขมิ้นชัน ตะไคร้ มะกรูด การใช้สมุนไพรสดควรเปลี่ยนถ่ายทุกวัน มิฉะนั้นอาจเน่าเกิดกลิ่นเหม็น แต่สมุนไพรแห้ง อาจใช้ต่อเนื่องได้  3 - 5 วัน
                    กลุ่มที่ 2  สมุนไพรที่มีรสเปรี้ยว กลุ่มนี้มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ  ซึ่งช่วยชะล้างสิ่งสกปรก และเพิ่มการต้านทานโรคให้แก่ผิวหนัง ตัวอย่างเช่น ใบมะขาม ใบและฝักส้มป่อย
                    กลุ่มที่ 3  เป็นสารประกอบที่ระเหิดได้เมื่อถูกความร้อนและมีกลิ่นหอม เช่น การบูร พิมเสน
                    กลุ่มที่ 4  สมุนไพรที่ใช้รักษาเฉพาะโรค เช่น ต้องการรักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน ใช้เหงือกปลาหมอ เป็นต้น


ตัวอย่างสมุนไพรที่ใช้ในการอบ ได้แก่
                    1.  ไพล            แก้อาการปวดเมื่อย ครั่นเนื้อครั่นตัว แก้เคล็ด ขัดยอก ฟกช้ำ
                    2.  ขมิ้นชัน        แก้โรคผิวหนัง สมานแผล
                    3.  กระชาย        แก้ปากเปื่อย ปากแตกเป็นแผล ใจสั่น
                    4.  ตะไคร้          ดำกลิ่นคาว บำรุงธาตุไฟ
                    5.  ใบมะขาม      แก้อาการคันตามร่างกาย
                    6.  ใบเปล้าใหญ่  ช่วยถอนพิษผิดสำแดง บำรุงผิวพรรณ
                    7.  ใบ-ลูกมะกรูด แก้ลมวิงเวียน ช่วยระบบทางเดินหายใจ
                    8.  ใบหนาด       แก้โรคผิวหนังพุพอง น้ำเหลืองเสีย
                    9.  ใบส้มป่อย     แก้หวัด แก้ปวดเมื่อย บำรุงผิวพรรณ
                   10.  ว่านน้ำ         ช่วยขับเหงื่อ แก้ไข้
                   11.  พิมเสน การบูร  แต่งกลิ่นบำรุงหัวใจ รักษาโรคผิวหนัง


 ตัวอย่างสมุนไพรแห้งที่ใช้ในการอบ ได้แก่
                     1.  ไพล            แก้อาการปวดเมื่อย ครั่นเนื้อครั่นตัว แก้เคล็ด ขัดยอก ฟกช้ำ
                     2.  ขมิ้นชัน        แก้โรคผิวหนัง สมานแผล
                     3.  ตะไคร้         ดำกลิ่นคาว บำรุงธาตุไฟ
                     4.  ใบ-ผิวมะกรูด แก้ลมวิงเวียน ช่วยระบบทางเดินหายใจ
                     5.  ใบหนาด       แก้โรคผิวหนังพุพอง น้ำเหลืองเสีย
                     6.  ใบส้มป่อย     แก้หวัด แก้ปวดเมื่อย บำรุงผิวพรรณ
                     7.  ว่านน้ำ         ช่วยขับเหงื่อ แก้ไข้
                     8.  เหงือกปลาหมอ  แก้โรคผิวหนังพุพอง น้ำเหลืองเสีย
                     9.  ชะลูด          แก้ร้อนใน กระสับกระส่าย ดีพิการ
                   10.   กระวาน       แก้เจ็บตา ตาแฉะ ตามัว
                   11.  เกษรทั้งห้า    แต่งกลิ่น ช่วยระบบการหายใจ
                   12.  สมุลแว้ง       แต่งกลิ่น
                   13.  พิมเสน การบูร แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ รักษาโรคผิวหนัง

 ตัวอย่างสูตรยาอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
 ส่วนประกอบ
                     1.  ยอดผักบุ้ง                 จำนวน                5               ยอด
                     2.  ใบมะกรูด                  จำนวน                3-5             ใบ
                     3.  ใบมะขาม                  จำนวน                1               กำมือ
                     4.  ใบส้มป่อย                 จำนวน                1               กำมือ
                     5.  ต้นตะไคร้                  จำนวน                3               ต้น
                     6.  หัวไพล                     จำนวน                2-3            หัว
                     7.  ใบพลับพลึง               จำนวน                1-2            ใบ
                     8.  ใบหนาด                    จำนวน                3-5           ใบ
                     9.  การบูร                       จำนวน                15            กรัม
                   10.  ขมิ้นชัน                      จำนวน                2-3           หัว

 สรรพคุณ
                    ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย อาการวิงเวียนศรีษะ และช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต บำรุงผิวพรรณ

 หมายเหตุ
                    สำหรับยาอบสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาโรคและอาการนั้นให้ใช้สูตรอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพแล้วเพิ่มตัวยาที่รักษาเฉพาะโรค เช่น
                    -  เหงือกปลาหมอ ผักบุ้ง ขมิ้นชัน ใช้รักษาอาการคัน โรคผิวหนัง
                    -  หอมหัวแดง เปราะหอม ใช้รักษาอาการหวัด คัดจมูก
                    -  หัวไพล เถาวัลย์เปรียง เถาเอ็นอ่อน ใบพลับพลึง ใช้รักษาอาการปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว เป็นต้น

รคหรืออาการที่สามารถบำบัดรักษาด้วยการอบสมุนไพร
                    1.  โรคภูมิแพ้
                    2.  โรคหอบหืด ในระยะที่ไม่มีอาการรุนแรง
                    3.  เป็นหวัด น้ำมูกไหลแต่ไม่มีการแห้งตันของน้ำมูก
                    4.  โรคที่ไม่ได้เป็นการเจ็บป่วยเฉพาะที่ หรือเฉพาะที่แต่มีหลายตำแหน่ง เช่น อัมพาต ปวดเมื่อยตามร่างกาย
                    5.  โรคหรืออาการบางอย่าง เช่น ยอก โรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคเก๊าท์ อาจต้องใช้การอบสมุนไพร ร่วมกับการรักษาอื่น ๆ  ตามความเหมาะสม เช่น หัตถเวชกรรม ประคบสมุนไพร
                    6.  การส่งเสริมสุขภาพ และมารดาหลังคลอดบุตร

 ข้อห้ามสำหรับการอบสมุนไพร
                    1.  ขณะมีไข้สูง (มากกว่า 38 องศาเซลเซียส) เพราะอาจมีการติดเชื้อโรคต่าง ๆ
                    2.  โรคติดต่อร้ายแรงทุกชนิด
                    3.  มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคไต โรคหัวใจ โรคลมชัก โรคหอบหืดระยะรุนแรง โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจที่รุนแรง ในรายที่มีความดันโลหิตสูงไม่เกิน 180 มิลลิเมตรปรอท อาจให้อบได้ตามดุลยพินิจของแพทย์ แต่ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด
                    4.  สตรีขณะมีประจำเดือน ร่วมกับมีอาการไข้ และปวดศรีษะร่วมด้วย
                    5.  มีการอักเสบจากบาดแผลต่าง ๆ
                    6.  อ่อนเพลีย อดนอน อดอาหาร หรือหลังรับประทานอาหารใหม่ ๆ
                    7.  ปวดศรีษะชนิดเวียนศรีษะ คลื่นไส้

ขั้นตอนในการให้บริการอบไอน้ำสมุนไพร
                    1.  ให้ผู้รับบริการอาบน้ำ เพื่อชำระสิ่งสกปรกที่อาจติดอยุ่ตามรูขุมขนแลเพื่อเป็นการเตรียมเส้นเลือดให้พร้อมต่อการยืดขยายและหดตัว แล้วแต่งกายด้วยเสื้อผ้าให้น้อยชิ้น
                    2.  ให้ผู้รับบริการเข้าอบตัวในห้องอบสมุนไพรซึ่งมีการควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ระหว่าง 42-45 องศาเซลเซียส ใช้เวลาในการอบรวม 30 นาที โดยอบ 2 ครั้ง ครั้งละ 15 นาที และออกมานั่งพัก 3-5 นาที หลังจากการอบครั้งแรก ควรดื่มน้ำทดแทนแต่ไม่ควรดื่มเป็นน้ำเย็นจัด ในรายที่ไม่คุ้นเคยกับการอบอาจให้อบนาน 10 นาที 3 ครั้ง
                    3.  หลังการอบครบตามเวลา ไม่ควรอาบน้ำทันทีให้นั่งพัก 3-5 นาที หรือรอจนเหงื่อแห้งแล้วจึงอาบน้ำอีกครั้ง เพื่อชำระคราบเหงื่อไคลและสมุนไพรและช่วยให้เส้นเลือดหดตัวเป็นปกติ
                    4.  การนัดหมายให้บริการอบ อย่างน้อย 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ หรือวันเว้นวัน ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละราย
                    5.  ประเมินผลการรักษา
                         -  ประเมินผลจากการตรวจร่างกาย โดยการชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต และซักประวัติอาการของผู้ป่วยว่าดีขึ้นหรือไม่อย่างไร
                         -  บันทึกประวัติการเจ็บป่วยโดยสังเขปและการบำบัดรักษาไว้ที่บัตรประจำตัว ผู้ป่วย (OPD Card) ทุกครั้งและทุกรายเพื่อประโยชน์ในการรักษาต่อเนื่อง ต่อไป
                                                                    ขอขอบคุณ
                                                                       ที่มา :  การแพทย์แผนไทยกับการดูแลสุขภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น