วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

กระษัยเถาวัลย์เปรียง

เถาวัลย์เปรียง แก้กระษัย ปวดเมื่อย
                    "เถาวัลย์เปรียง" คนโบราณเขานำเอาเถาและรากมาใช้ โดยใช้เถารักษาอาการเส้นเอ็นตึง ถ่ายกษัยเส้น ขับปัสสาวะ แก้โรคบิด ไอ หวัด โดยส่วนใหญ่จะใช้เถาวัลย์แดง ส่วนรากใช้เป็นยาแก้ไข้ และเป็นยาอายุวัฒนะ ส่วนการศึกษาวิจัยในปัจจุบันพบสารสำคัญในรากของเถาวัลย์เปรียง คือ สาร flavonoid ที่ชื่อ scandenin, nal-lanin ซึ่งใช้เป็นยาเบื่อปลาได้ นอกจากนี้ยังมี chanarin และอื่น ๆ สารสำคัญที่พบนี้ทำให้เถาวัลย์เปรียงมีฤทธิ์ลดอาการอักเสบได้ จึงมีการพัฒนาและผลิตเป็นยารักษาอาการปวดเมื่อย  ซึ่งใช้ได้ผลโดยไม่มีอาการข้างเคียงเหมือนยาแก้ปวดในปัจจุบัน นอกจากนี้จากการวิจัยเพิ่มเติมพบว่าในเถาวัลย์เปรียงยังมีฤทธิ์ในการเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้ด้วย แต่มีข้อจำกัดที่พึงระวัง คือ ในเถาของเถาวัลย์เปรียงมีสารออกฤทธิ์เช่นเดียวกับฮอร์โมนเพศหญิง ดังนั้นคนป่วยที่เป็นชาย หากมีการใช้ไปนาน ๆ อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระได้
                    "โรคข้อเข่าเสื่อม” เป็นโรคที่พบบ่อยมากในผู้สูงอายุ ในประเทศไทยพบผู้สูงอายุมากกว่า 6 ล้านคน เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม โดยพบในผู้ป่วยวัย 50 ปีขึ้นไป มากถึงร้อยละ 40 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมจะมีอาการปวดเข่า และไม่สามารถทำงานหรือดำรงชีวิตได้อย่างปกติ
ดังนั้น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยสถาบันวิจัยสมุนไพรจึงได้ดำเนินการศึกษาวิจัยสมุนไพร “เถาวัลย์เปรียง”  ใช้ในการรักษาผู้ป่วยทดแทนการนำเข้ายาจากต่างประเทศ ซึ่งได้ผลดีมากจากการวิจัย “เถาวัลย์เปรียง” พบ สารสกัดจากลำต้นมีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวด ต้านการอักเสบ สามารถใช้แทนยาแก้อักเสบที่เป็นยาแผนปัจจุบัน เพื่อรักษาโรคปวดหลังส่วนล่างได้ ขณะนี้ได้ผ่านการทดสอบทางคลินิกในคนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว




ผลงานวิจัย
- ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาต้านแบคทีเรียต้านการบีบตัวของลำไส้ ฤทธิ์เหมือนฮีสตามีน ลดความดันโลหิตคลายกล้ามเนื้อเรียบ ฆ่าปลา ฆ่าแมลง
- เมื่อฉีดสารสกัดส่วนที่อยู่เหนือดินด้วยอัลกอฮอล์และน้ำ (1:1) เข้าช่องท้องหนูถีบจักร พบว่าขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่งคือ 1 ก/ก และเมื่อป้อนสารสกัดลำต้นด้วยอัลกอฮอล์และน้ำ (1:1) ในขนาด 10 ก/กก ไม่พบพิษหรือเมื่อฉีดเข้าใต้ผิวหนังก็ไม่พบพิษเช่นกัน
- พบรายงานจากกรมวิทยาศาสตร์ว่าเถาวัลย์เปรียงมีฤทธิ์ลดอาการอักเสบและไม่มี พิษทั้งเฉียบพลันและเรื้อรังทั้งยังเพิ่มภูมิคุ้มกันอีกด้วย 

เถาวัลย์เปรียงพิชิตโรคข้อเข่าเสื่อม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ชื่ออื่น ๆ : เครือตาปา (โคราช), เครือตับปลา (อีสาน), เครือเขาหนัง, เถาวัลย์เปรียง (ไทยภาคกลาง),ย่านเหมาะ (นครศรีธรรมราช)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Derris scandens Benth.
วงศ์ : PAPILIONEAE
ลักษณะทั่วไป :
ต้น : เป็นพรรณไม้เถา ชอบเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่
ใบ : จะเป็นใบประกอบ ลักษณะจะเป็นใบกลม และเล็กคล้ายใบของต้นอันชัน ใบจะหนาและแข็ง มีใบย่อยอยู่ประมาณ 7 ใบ
ดอก : จะออกเป็นช่อสีขาวห้อยลง ส่วนกลีบรองดอกเป็นสีม่วงดำ ตรงปลายกลีบดอกนั้นจะเป็นสีชมพูเรื่อ ๆ ดอกนั้นจะออกดกมาก และจะส่งกลิ่นหอมอ่อน ๆ
เมล็ด (ผล) : ผลนั้นจะออกเป็นฝักแบนเล็ก ๆ ภายในจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 2-4 เมล็ด
การขยายพันธุ์ : โดยการใช้เมล็ด
ส่วนที่ใช้ : เถา และราก ใช้เป็นยา

สรรพคุณ :
เถา : นำมากินจะมีรสเฝื่อนเอียนเล็กน้อย ใช้เป็นยาถ่ายเสมหะ ลงสู่ทวารหนัก ถ่ายเส้นและกษัย ถ่ายเส้นทำให้เส้นอ่อนและหย่อนดี รักษาเส้นเอ็นขอด รักษาปัสสาวะพิการ ขับปัสสาวะ และรักษาโรคบิด โรคไอ โรคหวัด ใช้สำหรับเด็กเป็นยาที่ดีมาก
         ใช้เถาวัลย์ทั้งห้าสดๆต้มกับน้ำ นำน้ำที่ได้มาใช้ดื่มแทนน้ำขับโลหิตเสียของสตรี
          ให้นำเถาสดมาทุบให้ยุ่ย แล้ววางทาบลงบนหน้าท้องนำหม้อเกลือที่ร้อนมานาบลงไปบนเถาวัลย์เปรียง จะช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็ว
ราก : จะมีสารพวก flavonol ที่มีชื่อว่า scadenin, nallanin ใช้เป็นยาเบื่อปลา แต่ไม่มีคุณสมบัติในการใช้เป็นยาฆ่าแมลง ในตำรับยาไทยนั้นเขาใช้เป็นยารักษาอาการไข้ เป็นยาอายุวัฒนะ และขับปัสสาวะ
อื่น ๆ : พรรณไม้นี้บางจังหวัดใช้เถานำมาหั่นตาก แล้วคั่วไฟชงน้ำกิน แทนน้ำชา ทำให้เส้น หย่อนรักษาอาการเมื่อยขบ ส่วนใหญ่แล้ว มักนิยมใช้เถาวัลย์เปรียงแดง เพราะมีเนื้อไม้ เป็นสีแดงเรื่อ ๆ
ถิ่นที่อยู่ : พรรณไม้นี้ขึ้นง่าย มักขึ้นเองตามชายป่า และที่โล่งทั่ว ๆ ไป เนื้อไม้ในเถานั้นจะเป็นวง ๆ คล้ายเถาคันแดง เป็นพรรณไม้ที่มีมากที่สุดในประเทศไทย ใช้กันทุกจังหวัด
                                            
                                                     ขอขอบคุณ
                                                        ที่มา :  พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม,

                                                                  http://siamherbal.ibuy.co.th,
                                                                  http://www.oknation.net/,
                                                                  http://www.n3k.in.th และ
                                                                  http://natres.psu.ac.th/radio

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น