วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

มะรุม ต้นไม้มหัศจรรย์



ต้นมะรุม ต้นไม้มหัศจรรย์

                    มะรุม  เป็นไม้กลางบ้านของไทยที่รู้จักกันแพร่หลายมาเป็นเวลานาน  นอกจากรสชาติที่อร่อยแล้ว ชาวอินเดียวยังได้ทำการทดลองและเชื่อว่ามีคุณสมบัติในการป้องกันโรคภัยต่าง ๆ  ได้ถึง  300 ชนิด องค์การสหประชาชาติได้ให้การสนับสนุนในการค้นหว้าและวิจัยอย่างกว้างขวาง  โดยเฉพาะในการรักษาโรคขาดสารอาหารและอาการตาบอดซึ่งเกิดขึ้นในเด็กแรกเกิดจนถึงวัยเจริญเติบโตในประเทศด้อยพัฒนา
                    กลุ่มองค์กรการศุกลหลายแห่งได้หันมาให้ความสนใจอย่างจริงจังกับพันธุ์ไม้ชนิดนี้ รวมทั้งในประเทศไทยได้ทำการทดลองวิจัย  โดยนำมารักษาผู้ป่วยโรคงูสวัด แม้แต่กลุ่มประเทศอื่น ๆ  ก็หันมาให้ความสนใจ และทำการค้นคว้าอย่างเร่งด่วน เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็ง เบาหวาน โรคเอดส์ และอื่น ๆ อีกมากมาย
                    ทางจากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์คุณค่าทางโภชนาการของใบมะรุม ดังนี้ เปรียบเทียบคุณค่าสารอาหารในใบมะรุมจากน้ำหนักเท่า ๆ  กันกรัมต่อกรัม
                    ใบมะรุม          มีวิตามินซีมากกว่าส้ม                               ๗  เท่า
                                        มีแคลเซียมมากกว่านม                             ๔  เท่า
                                        มีไวตามินเอมากกว่าแครอท                       ๔  เท่า
                                        มีโปแตสเซี่ยมมากกว่ากล้วย                      ๓  เท่า
                                        มีโปรตีนมากกว่านม                                 ๒  เท่า





     
          ๑. ชื่อ มะรุม     
          ๒. ชื่ออื่น ผักอีฮึม ผักอีฮุม มะค้อนก้อม ผักเนื้อไก่ กาแน้งเดิง เส่ซ่อยะ บักอีฮุม มักรุม รุม บ่าค้อนก้อม
          ๓. ชื่อวิทยาศาสตร์ Moringa oleifera Lamk. ชื่อพ้อมทางพฤกษศาสตร์คือ M. pterygosperma Gaertn.
          ๔. วงศ์ MORINGACEAE
          ๕. ชื่อสามัญ Horse Radish Tree
          ๖. แหล่งที่พบ พบทั่วไปทุกภาค พบมากในภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
          ๗. ประเภทไม้ ไม้ยืนต้นขนาดกลาง
          ๘. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
          ต้น ลำต้นเป็นพุ่มโปร่งมีเปลือกลำต้นเป็นสีเทาอ่อน ผิวค่อนข้างเรียบ ลำต้นมีความสูง ๑๕-๒๐ เมตร
          ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ชนิดที่แตกใบย่อย ๓ ชั้น ยาว ๒๐-๔๐ ซม. ออกเรียงแบบสลับ ใบย่อยยาว ๑-๓ ซม. รูปไข่ปลายใบและฐานใบมน ผิวใบด้านล่างสีอ่อนกว่าและมีขนเล็กน้อยขณะที่ใบอ่อนเนื้อใบอ่อนบางมีสีเขียว ใบกว้าง ๑-๑.๕ นิ้ว ใบที่อยู่ปลายสุดมีขนาดใหญ่กว่าใบอื่นๆ
          ดอก เป็นดอกช่อสีขาวอยู่ตามข้อบริเวณส่วนยอด ดอกมีสีเหลืองนวลมี ๕ กลีบ แยกกันเกสรกลางดอกเป็นสีเหลืองเข้ม บานเต็มที่โตประมาณ ๑ นิ้ว
          ผล เป็นฝักกลมยาวสีเขียว เปลือกหนามีคลื่นนูนของเมล็ดตามยาวของฝัก ฝักยาว ๒๐-๕๐ ซม. ฝักอ่อนมีสีแดงเรื่อๆ ฝักแก่จะมีสีเขียว เมื่อแก่จะแตกเป็น ๓ ซีก เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยมมีปีกบางหุ้ม ๓ ปีก เส้นผ่าศูนย์กลางของเมล็ดประมาณ ๑ ซม.
          ๙. ส่วนที่ใช้บริโภค ยอดอ่อน ดอกอ่อน ฝักอ่อน
         ๑๐. การขยายพันธุ์ เมล็ด ปักชำกิ่ง 
               
                    ประโยชน์จากส่วนต่าง ๆ  ของต้นมะรุม
                    ใบสด     เพื่อให้ได้ประโยชน์เต็มที่ ควรรับประทานใบสดที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป  เนื่องจากใบมะรุมมีธาตุเหล็กสูง ฉะนั้นจึงไม่ควรให้ทารกวัยเจริญเติบโตถึง  ๒  ขวบรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป  ใบมะรุมสดก็เหมือนผักใบเขียวทุกชนิด ไม่ควรรับประทานเป็นจำนวนมากเพราะจัดเป็นยาระบายประเภทหนึ่ง เมื่อเริ่มรับประทาน บางท่านอาจจะมีอาการท้องเสีย ง่วง ผื่นลมพิษ ซึ่งอาการต่าง ๆ ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน อาการที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากที่ร่างกายได้สะสมสารพิษไว้เป็นจำนวนมาก หากเกิดอาการเช่นนี้ให้หยุดรับประทานชั่วคราวแล้วเริ่มใหม่ ทำเช่นนี้หลาย ๆ ครั้ง อาการจะดีขึ้นตามลำดับ หากผู้ที่มีอาการแพ้โดยอาการวิงเวียนศรีษะ ในกรณีนี้แนะนำให้รับประทานใบแมงลัก อาการวิงเวียนศรีษะก็จะหายไป การรับประทานใบสดไม่ควรถูกความร้อนนานเพราะจะทำให้สูญเสียสารอาหาร ใบสดใช้จิ้มน้ำพริก ใส่แกง ใส่สลัด และใส่แซนด์วิช
                     ใบสดเปล่า ๆ  จะมีรสเผ็ด แต่เมื่อนำมาปรุงอาหารจะไม่มีรสเผ็ดเลย
                     ถ้าคั้นใบมะรุมสดดื่มวันละ ๑ ช้อนโต๊ะ จะสามารถรักษาอาหารของโรคเบาหวานได้ และควบคุมความดันโลหิตสูงได้ด้วย
                     การรับประทานใบมะรุมสดสำหรับเด็กที่เริ่มรับประทานอาหารได้จนถึงอายุ ๓-๔ ขวบ ควรใส่เพียงเล็กน้อย ถ้าคั้นเป็นน้ำควรใส่เพียงวันละ ๑-๒ หยด ผสมอาหารหรือเครื่องดื่ม  ยกเว้นเด็กที่ขาดสารอาหารอย่างรุนแรง จึงควรเพิ่มขนาดตามสมควร จากนั้นจึงค่อยเพิ่มปริมาณที่ละน้อย ๆ ตามอายุและความเหมาะสม ไม่ควรให้เกินขนาดเพราะสำหรับเด็กในวัยเติบโต การให้ธาตุเหล็กเกินขนาดกลับจะให้โทษมากกว่าคุณ
                     วัยรุ่นและผู้ใหญ่ วันละ ๑-๓ กิ่งรับประทานสด หรือใช้ประกอบอาหารก็ได้ ถ้าจะได้ให้ผลเร็วควรคั้นน้ำดื่มประมาณวันละ ๑ ช้อนโต๊ะ สำหรับผู้ใหญ่ และ ๑ ช้อนชาสำหรับเด็กวัยรุ่น
                     การรับประทานผลตากแห้งจะให้ผลดีกว่าใบสดแม้จะทำให้ขาดไวตามินซีไปบ้างก็ตามแต่ก็สามารถหาทดแทนได้จากพืชผักและผลไม้ต่าง ๆ  การรับประทานใบแห้งอาจจะชงดื่มเป็นน้ำชาซึ่งอาจให้ผลช้ากว่าในรูปของแคปซูล
                     การทำใบมะรุมตากแห้ง ก่อนเก็บหนึ่งวันให้ฉีดน้ำล้างใบให้สะอาด จากนั้นจึงนำมาผึ่งให้แห้งที่ร่ม ถ้าตากแดดต้องคลุมผ้าให้มิด ใบแห้งสนิทจะสังเกตุได้ง่าย ๆ  คอ เวลาเอามือจับใบจะกรอบ แตกง่าย ถ้าตาก ๒-๓ วันแล้วยังไม่แห้ง ให้เปิดเตาอบอุณหภูมิร้อนเท่าแสงแดด ใส่ใบมะรุมเข้าไปประมาณ ๑๐ นาที ใบจะกรอบรีบนำมาทันที  ถ้าไม่มีเตาอบให้นำใบมะรุมใส่กระด้งที่สานถี่ ๆ  ชนิดที่ใบไม่สามารถหลุดร่วงลงไปได้ เอาตะแกรงอีกใบปิดครอบเพื่อกั้นแสงแดดทะลุลงไป แล้วนำไปตากกลางแดดซัก ๒ ชั่วโมง หรือจนกว่าใบจะกรอบ
                     ใบแห้งจะขาดไวตามีนซี ไวตามีนบี คลอรีนและแร่ธาตุบางจำพวกที่สูญหายไประหว่างการทำให้แห้ง แต่คุณสมบัติอย่างอื่นยังคงเดิม ถ้าจะเก็บไว้ดื่มเป็นน้ำชา ให้เก็บไว้ในขวดทึบที่แสงผ่านเข้าไม่ได้ ป้องกันการเสื่อมคุณภาพ
                     การทำผงมะรุม ทำได้หลายวิธี
                     ๑.  บดด้วยเครื่องบดกาแฟ
                     ๒.  ใส่ครกตำให้ละเอียด
                     ๓.  ถ้าไม่สามารถหาสิ่งเหล่านี้ได้ ก็ให้เอาใบมะรุมแห้งใส่ตะแกรงถี่ ๆ แล้วใช้แปรงลวดปัดไปปัดมา จะได้ผงมะรุมแห้งเก็บใส่กระป๋องหรือขวดทึบแสง รอบรรจุแคปซูล มะรุมผลก็เช่นกัน ควรเก็บในควรทึบแสง
                     การบรรจุแคปซูล
                     วิธีง่าย ๆ  คือ หาภาชนะเล็ก ๆ ตื้น ๆ เทผงมะรุมลงไป ใช้กระดาษสะอาดปิด กดเบา ๆ ให้ผงมะรุมอัดกันแน่น จากนั้นนำแคปซูลเปล่า เปิดฝาออก จับส่วนที่ยาวกดลงไปในผงมะรุมจนแน่น แล้วปิดฝาด้วยส่วนที่สั้น(ส่วนที่สั้นไม่ต้องกดผง) จะได้แคปซูปไว้รับประทานและสะดวกในการพกพา หาซื้อแคปซูลเปล่าได้ที่ร้านขายยาแผนโบราณทั่วไป
ฝักมะรุม อาหารรสเลิศ พร้อมด้วยสรรพคุณทางยา

                    ฝักมะรุม     นำไปปรุงอาหารได้หลายประเภท ทั้งแกงและผัด มะรุมที่ฝักอ่อนมาก ๆ  ขณะที่เปลือกยังไม่แข็งจะมีรสชาติคล้ายถั่วฝักยาว นำมาประกอบอาหารได้เช่นเดียวกับถั่วฝักยาว ฝักมะรุมกลางอ่อนกลางแก่ เวลานำมาปรุงอาหารเรามักจะปอกเปลือกก่อน ถ้านำเอาเปลือกมะรุมมาต้มกับเม็ดเก๋ากี้และฮ่วยซัวจะช่วยให้น้ำแกงมีรสชาติอร่อย  มีคุณค่าทางอาหารดีเยี่ยมและได้ไวตามีนครบถ้วน
                      เมล็ดแก่     เมล็ดมะรุมก็เช่นเดียวกับใบคือมีคุณค่ามหาศาล เพียงวันละ ๑ เมล็ดก่อนนอน จะช่วยให้การขับถ่ายตอนเช้าจะเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ เมื่อการขับถ่่ายกลับเป็นปกติแล้ว ขอแนะนำว่าควรงดการรับประทาน เพราะเมล็ดมะรุมเป็นยาปฏิชีวนะอย่างอ่อน อาจจะทำให้การรักษาไม่ได้ผลเท่าที่ควร ถ้าใช้ติดต่อกันเป็นเวลายาวนาน หากเดินทางไปในที่ไม่ค่อยแน่ใจเรื่องความสะอาด ให้เคี้ยวเม็ดมะรุมควบไปด้วย จะช่วยป้องกันโรคท้องเดินได้
                       เมล็ดมะรุมจะมีรสขม แต่พอเคี้ยวไปได้ซักพักก็จะมีรสหวานเกิดขึ้นจนหวานจัด เมื่อดื่มน้ำตามจะรู้สึกชุ่มชื้น หลังจากที่รับประทานครั้งแรก ก็พบว่าอาการไอเรื้อรังหาย และยังช่วยแก้อาการท้องเสียหายเป็นปลิดทิ้ง มิหนำซ้ำยังช่วยรักษาแผลในปากได้อีกด้วย หลายคนที่เป็นไข้หวัด เมื่อได้รับประทานเมล็ดมะรุม อาการไข้ก็หายไป เมล็ดมะรุมยังช่วยลดการอักเสบของแผลพุพองได้อีกด้วย และหากนำเมล็ดมะรุมมาบดพอกแผล และทำความสะอาดแผลได้ดีอีกด้วย(สามารถใช้น้ำมันมะรุมแทนเมล็ดมะรุมบดซึ่งได้ผลดีกว่า)
                     เมล็ดมะรุมมีคุณสมบัติในการขับถ่ายพยาธิได้เป็นอย่างดี โดยรับประทานวันละ ๑๒ เมล็ด ติดต่อกันเป็นเวลา ๑๐ วัน และไม่ควรับประทานเกิน ๑๗ เมล็ดต่อวันและยังค้นพบอีกว่าผลพลอยได้จากการทดลองนี้ได้ช่วยให้ผู้มีแก้วหูทะลุเพราะการอักเสบกลับมามีอาการดีขึ้นได้
                     จากการวิจัยพบว่า เมล็ดมะรุมบดละเอียดสามารถนำไปใช้กรองน้ำได้อย่างได้ผล ทำให้น้ำตกตะกอน มีผลเหมือนการใช้สารส้ม น้ำที่ได้รับการกรองจะใสสะอาด บริสุทธิ์ มีรสหวาน อร่อย และฆ่าเชื้อโรคได้ถึง ๙๙ เปอร์เซนต์
                     ชาวบ้านทั่วไปสามารถนำผงที่บดจากเมล็ดมะรุม ประมาณ ๑ กำมือใส่ห่อผ้าขาวบาง มัดให้แน่นกันผงกระจาย มาแกว่งน้ำในโอ่ง ทิ้งไว้ซักพักพอตกตะกอน แล้วรีบถ่ายตะตอนออกให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคที่เรียที่ไข่ทิ้งไว้ น้ำที่เหลือจะใสสะอาด และมีรสหวานคล้ายน้ำฝนบริสุทธิ์  จากภูมิปัญญาดั่งเดิมของคนไทย ใช้วิธีนำฝักมะรุมที่ค่อนข้างแก่มาทุบ แล้วนำมาแกว่งในน้ำ เพื่อทำให้น้ำบริสุทธิ์
                      น้ำมันมะรุม     ชนชาติอียิปต์โบราณนำน้ำมันชนิดหนึ่งมาใช้ปรุงเป็นอาหาร บำรุงและรักษาผิวพรรณ และใช้เป็นน้ำมันหล่อลื่นที่มีคุณสมบัติพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นเวลานานเท่าใด น้ำมันชนิดนี้จะไม่มีการเปลี่ยนสภาพของสีและกลิ่นแต่อย่างใด แต่ยังคงสภาพเดิม
                       คนโบราณเรียกน้ำมันมะรุมนี้ว่า Ben oil และนำไปใช้เป็นน้ำมันหล่อลื่นนาฬิกาชนิดดีที่สุดในโลก รวมทั้งใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางค์ราคาแพง ใช้รักษาโรคน้ำกัดเท้า และโรคผิวหนังอันเกิดจากเชื้อราต่าง ๆ รวมทั้งป้องกันพยาธิไชเท้า ถ้านำมาทาเท้าก่อนย่ำน้ำ
                       สรรพคุณต่าง ๆ ของน้ำมันมะรุม
                       ๑. ใช้ปรุงอาหารเช่นเดียวกัับน้ำมันมะกอก แต่ดีกว่าไม่มีกลิ่นเหม็นหืนภายหลัง
                       ๒.  ช่วยบำรุงรักษาผิวที่แห้งให้ชุ่มชื้น อ่อนนุ่ม และช่วยชะลอความเหี่ยวย่นของผิว
                       ๓.  ช่วยรักษาโรคเชื้อราตามผิวหนัง เช่น โรคนำกัดเท้า เชื้อราตามซอกเล็บและผิวแห้งเพราะเชื้อรา
                       ๔.  ช่วยรักษาแผลมีดบาด หรืแผลสดเล็ก ๆ น้อย ๆ   
                       ๕.  ลดอาการผื่นคันตามผิวหนัง และอาการแพ้ผ้าอ้อมของเด็กอ่อน
                       ๖.  ลดอาการปวดบวมของโรคข้ออักเสบ โรคเก๊าท์
                       ๗.  ช่วยรักษาแผลในปากหรือแผลของโรคปากนกกระจอก    
                       ๘.  ใช้นวดกระชับกล้ามเนื้อ และบรรเทาอาการปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อได้อย่างดี 
                       ๙.  ช่วยบรรเทาอาการเกิดสิวบนใบหน้า    
                     ๑๐.  ช่วยลบรอยจุดด่างดำของผิวอันเป็นผลจากการโดนแดด หรือการเสื่อมตามวัย
                     ๑๑.  ใช้นวดศรีษะ รักษาโรคเชื้อราบนหนังศรีษะ บรรเทาอาการผมร่วงง่าย และอาการคันศรีษะ
                     ๑๒.  ช่วยถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย
                     ๑๓.  บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามบั้นเอวและขา เนื่องจากการยืนนาน ๆ อาการปวดตามไหล่ และปวดศรีษะ
                     ๑๔.  ใช้เป็นน้ำมันหล่อลื่นต่าง ๆ ประจำบ้าน ทำให้สิ่งของไม่เป็นสนิม
                     วิธีทำน้ำมันมะรุม
                     วิธีทำแบบง่าย ๆ  เพื่อใช้ในครัวเรือน นำเมล็ดมะรุมที่แห้งคาต้นมาบดให้ละเอียด ใส่หม้อ เติมน้ำให้ท่วมเป็น ๒ เท่า ตั้งไฟ เดือดแล้วหรี่ไฟลง เคี่ยวไฟอ่อน ๆ ไปเรื่อย ๆ พอน้ำเริ่มงวด น้ำมันจะซึมขึ้นมา เช่นเดียวกับการทำน้ำมันมะพร้าว ไม่จำเป็น้องรอจนน้ำแห้งสนิท ถ้ามีน้ำเหลือติดนิดหน่อย ไม่เป็นไร ทิ้งให้เย็น แล้วนำมากรองด้วยผ้าขาวบาง บีบน้ำมันออกให้มากที่สุด นำน้ำมันที่บีบได้ตั้งไฟอ่อน ๆ อีกครั้ง เพื่อให้น้ำมันระเหยออกให้หมดพอเย็นกรอกใส่ขวด เก็บไว้ใช้ได้นานปี ไม่ต้องใส่ตู้เย็น สำหรับกากอย่าทิ้งให้นำไปใช้กรองน้ำให้สะอาด เมื่อเสื่อมคุณดภาพแล้วก็นำไปทำเป็นปุ๋ยต่อไป
                    เปลือกจากลำต้น     นำเปลือกจากลำต้นมาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ รวมกับเปลือกต้นปีบ ถ้าไม่สามารถหาเปลือกต้นปีบ ก็ใช้อย่างเดียวได้ นำมาห่อในผ้าขาวบางทำเป็นลูกประคบ นึ่งให้ร้อนแล้วนำมาประคบแก้โรคปวดหลังหรือปวดขาได้เป็นอย่างดี
ดอกมะรุม ช่วยทำให้นอนหลับสบาย

                   ดอกมะรุม     ต้องรับประทานสุกเท่านั้น ใช้ต้มทำน้ำชา กลิ่นชาที่หอมหวานจะช่วยทำให้นอนหลับสบาย นอกจากนั้นยังนำมาชุบไข่ทอดหรือทำแกงส้มได้ ไม่ควรรับประทานมากจะทำให้ท้องเสีย
                     นอกจากคุณประโยชน์ต่าง ๆ  ดังที่กล่าวมาแล้ว ชาวสวนยังใช้กิ่งและใบมะรุมที่ร่วงหล่นผสมพรวนดินเพื่อกันเชื้อราก่อนปลูกพืชไร่ต่าง ๆ
                     การบังเกิดผลในแต่ละบุคคลย่อมแต่กต่างกันไปตามสภาพวิถีชีวิตของแต่ละคน การรับประทานมะรุมให้ได้ผลอย่างเต็มที่ ควรหยุดรับประทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์
                                                     ขอขอบคุณ
                                                           ที่มา :  นาฬิกาชีวิต ตอนที่ ๒
                                                           มะรุม ต้นไม้เพื่อชีวิต  และ
                                                           http://scratchpad.wikia.com/wiki/มะรุม          




            
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น