วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

ใบพลู

สารสกัดจากใบพลู ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา


                    ใบพลูเป็นของคู่กันกับหมากมาช้านาน คนไทยจึงเรียกว่าหมากพลูคู่กันเสมอ ปัจจุบันบทบาทของหมากพลูที่แพร่หลาย คือใช้เป็นเครื่องไหว้บูชาในงานพิธีสำคัญต่างๆ หรือใช้ไหว้พระไหว้เทพเจ้า การเคี้ยวหมากพลูกลายเป็นของต้องห้ามของคนไทยตั้งแต่สมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี มีการตัดต้นหมากและพลูทิ้งเป็นจำนวนมาก ซึ่งน่าเสียดายยิ่งนักเพราะหมากพลูไม่ได้ใช้ประโยชน์แค่นั้น แต่ยังเป็นยาที่มีประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะพลูนั้นใช้ประโยชน์ได้เสมือนยาสามัญประจำบ้าน ปลูกไว้มีแต่ได้ประโยชน์  นอกจากเป็นเครื่องเคี้ยวคู่กับหมากใช้ต้อนรับแขก ใช้เชื่อมสัมพันธ์พบปะสังสรรค์แล้ว ยังเป็นเครื่องบอกรักระหว่างหนุ่มสาว ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งให้หมากพลูไปแล้วอีกฝ่ายให้หมากพลูตอบกลับ แสดงว่ารักนั้นสมหวัง แต่ถ้าไม่ได้ก็ต้องดื่มน้ำบัวบกแทน

วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

การประคบสมุนไพร

                    การประคบสมุนไพร คือ  การใช้สมุนไพรหลายอย่างมาห่อรวมกัน ส่วนใหญ่เป็นสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหย โดยนำมานึ่งให้ร้อน ประคบบริเวณที่ปวดหรือเคล็ดขัดยอก  ซึ่งน้ำมันหอมระเหยเมื่อถูกความร้อนจะระเหยออกมา ความร้อนจากลูกประคบจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตดีขึ้น และยังมีสารสำคัญจากสมุนไพรบางชนิดที่ซึมเข้าทางผิวหนัง ช่วยรักษาอาการเคล็ด ขัด ยอก และลดปวดได้

สมุนไพรหลายอย่างมาห่อรวมกัน กลายเป็นลูกประคบ

อุปกรณ์การทำลูกประคบ
                    ๑.  ผ้าดิบสำหรับห่อลูกประคบ ขนาดกว้าง ๓๕ x ยาว ๓๕ เซนติเมตร ๒ ผืน
                    ๒.  เชือกหรือผ้า
                    ๓.  ตัวยาที่ใช้ทำลูกประคบ
                    ๔.  เตาพร้อมหม้อสำหรับนึ่งประคบ
                    ๕.  จาน หรือ ชามอลูมิเนียมเจาะรู(เพื่อให้ไอน้ำผ่านได้) รองลูกประคบ

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

การอบสมุนไพร

การใช้สมุนพรในการอบมี 2 แบบ
                    การอบสมุนไพร เป็นวิธีการบำบัดรักษาและส่งเสริมสุขภาพ ตามหลักของการแพทย์แผนไทย โดยใช้หลักการอบสมุนไพร คือ ต้มสมุนไพรหลาย ๆ  ชนิดรวมกัน ซึ่งประกอบด้วยสมุนไพรที่มี น้ำมันหอมระเหยและสมุนไพรรักษาตามอาการ สมุนไพรที่มีรสเปรี้ยวนำมาต้มจนเดือด ไอน้ำ น้ำมันหอมระเหย และสารระเหยต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่ในสมุนไพรจะออกมาสัมผัสถูกผิวหังทำให้มีผลเฉพาะที่ และสูดดมเข้าไปกับลมหายใจ มีผลต่อระบบทางเดินหายใจและผลทั่วร่างกาย ดังนั้นผลการรักษาด้วยการอบสมุนไพรที่ซึมผ่านผิวหนัง และเข้าไปกับลมหายใจซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพดังนี้
                    1.  ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตในร่างกายดีขึ้น คลายความตึงเครียด
                    2.  ช่วยชำระล้างและขับของเสียออกจากร่างกาย
                    3.  ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบรรเทาอาการปวดเมื่อย
                    4.  ช่วยทำให้ระบบการหายใจดีขึ้น
                    5.  ช่วยบำรุงผิวพรรณ บรรเทาอาการผด ผื่น คัน
                    6.  ช่วยให้น้ำหนักร่างกายลดลงได้ชั่วคราว
                    7.  ช่วยมดลูกเข้าอู่เร็วในหญิงหลังหลอด
                    8.  ช่วยให้สบายตัว ลดอาการปวดศรีษะ

ธาตุเจ้าเรือน

ธาตุเจ้าเรือน คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ

                    ในทฤษฎีการแพทย์แผนไทย เชื่อว่า  การเกิดชีวิตใหม่จะเกิดขึ้นได้ ต้องมีพ่อมีแม่ที่มีลักษณะของหญิง - ชายครบถ้วน  หมายถึง  พ่อมมีลักษณะของชายครบและมีแม่มีลักษณะของหญิงครบ  โดยให้ความหมายของชีวิตไว้ว่า ชีวิตคือขันธ์ 5 อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
                    รูป  หมายถึง  รูปร่าง ร่างกาย หรือ สิ่งที่เป็นรูปธรรม  ซึ่งในพระไตรปิฎกได้อธิบายไว้ว่า รูปมีมหาภูตรูป 4 ได้แก่  ดิน น้ำ ลม ไฟ  และรูปที่เกิดจากมหาภูตรูป เรียกว่า อุปทายรูป ได้แก่  อากาศ และประสาททั้ง 5 ได้แก่  ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เกิด รูป รส กลิ่น เสียง เป็นอาภรณ์ 4
                    เวทนา  ได้แก่  ความรู้สึกต่าง ๆ  ซึ่งเกิดจากประสาททั้งห้า เป็นต้น
                    สัญญา  ได้แก่  ความจำต่าง ๆ  การกำหนดรู้อาการ จำได้ หมายรู้
                    สังขาร  ได้แก่  การปรุงแต่งของจิต  ความคิดที่ผูกเป็นเรื่องราว ส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าสังขาร คือ ร่างกาย เช่น มักพูดว่า "คนแก่ไม่เจียมสังขาาร" หมายถึง  ทำอะไรเกินกว่าร่างกายซึ่งชราจะรับได้ แท้จริงสังขารเป็นความนึกคิดก่อหรือผูกเป็นเรื่องราวนั่นเอง

วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

อัญชันไม้ประดับที่ไม่ใช่แค่ประดับ

ดอกอัญชัน จะช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็นได้

ชื่อสามัญ : Blue Pea,Butterfly Pea

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clitoria ternatea

ชื่อวงศ์ : Fabaceae

ชื่ออื่น : แดงชัน,เอื้องชัน

ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์
                  พืชไม้เถาเลื้อยขนาดเล็ก ลำต้นมีขนนุ่มปกคลุม ใบเป็นรูปไข่ ผิวและขอบเรียบ ใบบางสีเขียบ ดอกมี 2 ชนิด มีทั้งดอกชั้นเดียว และดอกซ้อน ดอกมีสีน้ำเงินแก่ ม่วงแดง ม่วงอ่อน และขาว ดอกมีรูปทรงคล้ายกับกรวย กลีบรูปกลม ปากเว้า เป็นแอ่งตรงกลางกลีบ มีสีเหลือง

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

ตะขบ สมุนไพรใกล้ตัว

ต้นตะขบ นอกจากจะให้ความร่มรื่น ยังเป็นสมุนไพรอีกด้วย

          ไม่น่าเชื่อ เลยน่ะค่ะ ว่า ต้นตะขบ  นอกจากจะมีประโยชน์เอาไว้ผูกแปลนอนแล้ว  ยังจะมีสรรพคุณทางยาด้วย เพราะตอนเด็ก ๆ  เราและเพื่อนจะชอบเก็บกินเล่นเป็นประจำ จนกระทั่งโตมานี่ถ้าเห็นก็จะเก็บกินเหมือนเดิมเลยอ่ะ เพราะว่าลูกสุกของมันจะมีรสหวาน มีกลิ่นหอม และมีข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า รับประทานแล้วจะเป็นยาบำรุงกำลังทำให้ชุ่มชื่นหัวใจได้อีกด้วย...

ขับพิษด้วยรางจืด

รางจืด สมุนไพรต้านพิษ
                    ภูมิปัญญาท้องถิ่นบางอย่างยังคงมีประสิทธิภาพในการดำรงชีวิตในปัจจุบัน เพื่อให้มิตรรักแฟนสมุนไพรได้รู้จักต้น “ รางจืด ” จึงขอแนะนำ และขอทำความเข้าใจว่า ต้นรางจืด หมายถึงต้นไม้ไม่น้อยกว่า 3 ชนิดที่คนไทยใช้เป็นสมุนไพร

                    รางจืดชนิดที่ 1 เป็น สมุนไพรที่มีการใช้กันมานานมากและเป็นที่รู้จักทั่วไป รางจืดชนิดนี้เป็นไม้เถาขนาดกลาง พบเห็นได้ทั่วไปในประเทศไทย ดอกของรางจืดจะคล้ายกับดอกของสร้อยอินทนิลเป็นอย่างมาก ถ้าไม่สังเกตให้ดีจะคิดว่าเป็นไม้ชนิดเดียวกัน ข้อแตกต่างของเถารางจืดและสร้อยอินทนิลอยู่ที่ใบ คือ ขอบใบของเถารางจืดจะเรียบเรียวแหลมสู่ปลายใบ แต่ใบของสร้อยอินทนิลขอบใบหยักเป็นแฉก 3-4 แฉก เถารางจืดมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Thunbergia laurifolia L. ส่วนสร้อยอินทนิลมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Thunbergia grandiflora Roxb . จากชื่อวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่าพืชสองชนิดนี้มีนามสกุลเดียวกัน พูดภาษาชาวบ้านคือต้องเป็นญาติสนิทกัน ในส่วนของสร้อยอินทนิลส่วนใหญ่ใช้เป็นไม้ประดับ และมีหลักฐานการใช้เป็นยาพื้นบ้านโดยใช้ส่วนของรากและเถาตำพอกแก้ฟกช้ำ แก้การอักเสบ ส่วนใบใช้ชงดื่มแก้ปวดท้อง รักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินปัสสาวะ ตำพอกแก้โรคผิวหนัง
ส่วน เถารางจืดตามตำราโบราณใช้รากและเถาเป็นยาแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ใบและน้ำคั้นจากใบสดนำมาใช้แก้ไข้ ถอนพิษ สำหรับภูมิปัญญาอีสาน มีประสบการณ์สืบต่อกันมาว่า เมื่อจะปรุงอาหารที่เก็บมาจากป่าทุกครั้งให้ใส่ใบและดอกของเถารางจืดเข้าไป ด้วย เพื่อป้องกันพิษที่อาจเกิดจากพืชหรือสัตว์ป่าที่นำมารับประทาน เถารางจืดจึงอยู่กับสังคมไทยมาเป็นเวลาช้านาน

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

ว่านชักมดลูก

ว่านชักมดลูกให้สรรพคุณดีกว่ากวาวเครือ

ชื่อว่านชักมดลูก
ชื่ออื่น :   ว่านทรหด,  ว่านพระยาหัวศึก,  ว่านการบูรเลือด
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Curcuma xanthorrhiza  Roxb.
วงศ์ :   ZINGIBERACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ล้มลุกจำพวกเหง้าใต้ดิน  อยู่ในวงศ์ขิง  ข่า  สูงได้ถึง  2 เมตร  ใบมีลักษณะเป็นพืช  ใบเดี่ยวเหมือนขมิ้น  แต่มีความใหญ่โตผิดกว่ากันหลายเท่าเรียงกันเป็นกระจุก  อยู่ใกล้ราก  รูปขอบใบขนานแกมวงรี  กว้าง 15-21  เซนติเมตร  ยาว 40-90 เซนติเมตร  โดยร่องกลางใบมีลักษณะเป็นทาง  สีดำแดง หรือสีน้ำตาลหม่นปนแดง  กว้างได้ถึง  10 เซนติเมตร  กาบใบยาวได้ถึง 75 เซนติเมตร  เหง้าหรือหัว มีลักษณะกลมใหญ่และเกลี้ยงเหมือนดั่งหัวเผือกอาจยาวได้ถึง 10 เซนติเมตร  ผิวด้านนอกมีสีส้มอ่อน  เนื้อในหัวมีสีขาวเหลือง, สีส้ม, หรือส้มแดง ซึ่งขึ้นอยู่กับพื้นที่ปลูก  โดยหัวว่านชักมดลูกนั้นมีกลิ่นฉุนร้อน และรสต่างกันเป็น 5 รส  ดอก  มีลักษณะเป็นช่อเชิงลดรูปทรงกระบอก  กว้าง 8-10 เซนติเมตร  ยาว 16-20 เซนติเมตร ก้านดอกยาว15-20 เซนติเมตร ใบประดับที่ได้ได้รองรับดอกย่อยสีม่วง ยาวได้ถึง 9 เซนติเมตร  ใบประดับที่รองรับดอกย่อยสีเขียวอ่อน  ยาว 5-6 เซนติเมตร  ใบประดับย่อยยาวได้ถึง 2.5  เซนติเมตร  กลีบดอกสีชมพู เกสรตัวผู้ที่เป็นหมันสีขาว กลีบปาก สีเหลืองแถบกลางสีเหลืองเข้ม

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

กระษัยเถาวัลย์เปรียง

เถาวัลย์เปรียง แก้กระษัย ปวดเมื่อย
                    "เถาวัลย์เปรียง" คนโบราณเขานำเอาเถาและรากมาใช้ โดยใช้เถารักษาอาการเส้นเอ็นตึง ถ่ายกษัยเส้น ขับปัสสาวะ แก้โรคบิด ไอ หวัด โดยส่วนใหญ่จะใช้เถาวัลย์แดง ส่วนรากใช้เป็นยาแก้ไข้ และเป็นยาอายุวัฒนะ ส่วนการศึกษาวิจัยในปัจจุบันพบสารสำคัญในรากของเถาวัลย์เปรียง คือ สาร flavonoid ที่ชื่อ scandenin, nal-lanin ซึ่งใช้เป็นยาเบื่อปลาได้ นอกจากนี้ยังมี chanarin และอื่น ๆ สารสำคัญที่พบนี้ทำให้เถาวัลย์เปรียงมีฤทธิ์ลดอาการอักเสบได้ จึงมีการพัฒนาและผลิตเป็นยารักษาอาการปวดเมื่อย  ซึ่งใช้ได้ผลโดยไม่มีอาการข้างเคียงเหมือนยาแก้ปวดในปัจจุบัน นอกจากนี้จากการวิจัยเพิ่มเติมพบว่าในเถาวัลย์เปรียงยังมีฤทธิ์ในการเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้ด้วย แต่มีข้อจำกัดที่พึงระวัง คือ ในเถาของเถาวัลย์เปรียงมีสารออกฤทธิ์เช่นเดียวกับฮอร์โมนเพศหญิง ดังนั้นคนป่วยที่เป็นชาย หากมีการใช้ไปนาน ๆ อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระได้
                    "โรคข้อเข่าเสื่อม” เป็นโรคที่พบบ่อยมากในผู้สูงอายุ ในประเทศไทยพบผู้สูงอายุมากกว่า 6 ล้านคน เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม โดยพบในผู้ป่วยวัย 50 ปีขึ้นไป มากถึงร้อยละ 40 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมจะมีอาการปวดเข่า และไม่สามารถทำงานหรือดำรงชีวิตได้อย่างปกติ
ดังนั้น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยสถาบันวิจัยสมุนไพรจึงได้ดำเนินการศึกษาวิจัยสมุนไพร “เถาวัลย์เปรียง”  ใช้ในการรักษาผู้ป่วยทดแทนการนำเข้ายาจากต่างประเทศ ซึ่งได้ผลดีมากจากการวิจัย “เถาวัลย์เปรียง” พบ สารสกัดจากลำต้นมีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวด ต้านการอักเสบ สามารถใช้แทนยาแก้อักเสบที่เป็นยาแผนปัจจุบัน เพื่อรักษาโรคปวดหลังส่วนล่างได้ ขณะนี้ได้ผ่านการทดสอบทางคลินิกในคนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว


มะรุม ต้นไม้มหัศจรรย์



ต้นมะรุม ต้นไม้มหัศจรรย์

                    มะรุม  เป็นไม้กลางบ้านของไทยที่รู้จักกันแพร่หลายมาเป็นเวลานาน  นอกจากรสชาติที่อร่อยแล้ว ชาวอินเดียวยังได้ทำการทดลองและเชื่อว่ามีคุณสมบัติในการป้องกันโรคภัยต่าง ๆ  ได้ถึง  300 ชนิด องค์การสหประชาชาติได้ให้การสนับสนุนในการค้นหว้าและวิจัยอย่างกว้างขวาง  โดยเฉพาะในการรักษาโรคขาดสารอาหารและอาการตาบอดซึ่งเกิดขึ้นในเด็กแรกเกิดจนถึงวัยเจริญเติบโตในประเทศด้อยพัฒนา
                    กลุ่มองค์กรการศุกลหลายแห่งได้หันมาให้ความสนใจอย่างจริงจังกับพันธุ์ไม้ชนิดนี้ รวมทั้งในประเทศไทยได้ทำการทดลองวิจัย  โดยนำมารักษาผู้ป่วยโรคงูสวัด แม้แต่กลุ่มประเทศอื่น ๆ  ก็หันมาให้ความสนใจ และทำการค้นคว้าอย่างเร่งด่วน เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็ง เบาหวาน โรคเอดส์ และอื่น ๆ อีกมากมาย
                    ทางจากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์คุณค่าทางโภชนาการของใบมะรุม ดังนี้ เปรียบเทียบคุณค่าสารอาหารในใบมะรุมจากน้ำหนักเท่า ๆ  กันกรัมต่อกรัม
                    ใบมะรุม          มีวิตามินซีมากกว่าส้ม                               ๗  เท่า
                                        มีแคลเซียมมากกว่านม                             ๔  เท่า
                                        มีไวตามินเอมากกว่าแครอท                       ๔  เท่า
                                        มีโปแตสเซี่ยมมากกว่ากล้วย                      ๓  เท่า
                                        มีโปรตีนมากกว่านม                                 ๒  เท่า


วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

ฟ้าทะลายโจร

                    ฟ้าทะลายโจร ยาที่มีความหมายในตัวเองไม่น้อย  เพราะแม้แต่ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าฟ้าประทานมาให้ปราบโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ  ซึ่งเปรียบเสมือนเหล่าโจรร้าย  ส่วนในภาษาจีนกลาง  ยาตัวนี้มีชื่ออย่างเพราะพริ้งว่า  "ชวนซิเหลียน"  แปลว่า  "ดอกบัวอยู่ในหัวใจ"  ซึ่งมีความหมายสูงส่งมาก วงการแพทย์จีนได้ยกฟ้าทะลายโจรขึ้นทำเนียบเป็นยาตำราหลวงที่มีสรรพคุณโดดเด่นมากตัวหนึ่ง  ที่สำคัญ คือ  สามารถใช้เป็นยาเดี่ยวเพียงตัวเดียวก็มีฤทธิ์แรงพอที่จะรักษาโรคได้  ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่หาได้ยากในสมุนไพรตัวอื่น

                     ในประเทศจีนนั้น  ใช้ในการแก้ฝี  แก้อักเสบ  และรักษาโรคบิด  การวิจัยด้านเภสัชวิทยาพบว่า ฟ้าทะลายโจรสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของการเป็นหนองได้  และมีการศึกษาวิจัยของโรงพยาบาลบำราศนราดูร  ถึงฤทธิ์ในการรักษาโรคอุจจาระร่วงและบิด  แบคทีเรีย  เปรียบเทียบกับ เตตราซัยคลิน  ในผู้ป่วย  ๒๐๐  ราย  อายุระหว่าง  ๑๖-๕๕  ปี  ได้มีการเปรียบเทียบระยะเวลาที่ถ่ายอุจจาระเหลว  จำนวนอุจจาระเหลว  น้ำเกลือที่ให้ทดแทนระหว่างฟ้าทะลายโจรกับเตตราซันคลิน  พบว่าสมุนไพรฟ้าทะลายโจร  ลดจำนวนอุจจาระร่วงและจำนวนน้ำเกลือที่ให้ทดแทนอย่างน่าพอใจ  แม้ว่าจากการทดสอบทางสถิติจะไม่มีความแตกต่างโดยในสำคัญก็ตาม   ส่วนการลดเชื้ออหิวาตกโรคในอุจจาระ ฟ้าทะลายโจร  ไม่ได้ผลดีเท่าเตตราซัยคลิน     นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลชุมชนบางแห่ง    ได้ใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาอาการเจ็บคอได้ผลดีอีกด้วย  มีฤทธิ์เช่นเดียวกับเพ็นนิซิลินเมื่อเทียบกับยาแผนปัจจุบัน  เท่ากับเป็นการช่วยให้มีผู้สนใจทดลองใช้ยานี้รักษาโรคต่าง ๆ  มากขึ้น
                    สำหรับความโดดเด่นของฟ้าทะลายโจรนั้น   มีสารสำคัญในการรักษาโรค  คือ     สารแอนโดรแกรโฟไลด์ (Andrographpolide)  ซึ่งทางวงการแพทย์จีนกำหนดว่ามี  ๑.๕   เปอร์เซ็นต์  ก็ใช้เป็นยาได้แล้ว  และเป็นที่น่ายินดีที่ใบฟ้าทะลายโจรในเมืองไทยมีสารสำคัญตัวนี้ถึง  ๑.๗   เปอร์เซ็นต์  ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับยาตัวใหม่แล้ว  ฟ้าทะลายโจรจัดอยู่ในจำพวกยาปฏิชีวนะ  เช่น  เพนนิซิลลินและเตตราซัยคลิน  ซึ่งเป็น  ยาแผนปัจจุบันครอบจักรวาลเลยทีเดียว  แต่ปลอดภัยกว่า  เพราะไม่มีพิษต่อตับ  และไม่ตกค้างในร่างกาย  ซ้ำยังมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคบางอย่างดีกว่ายาแผนปัจจุบันเสียอีก  จึงนับได้ว่าฟ้าทะลายโจรเป็นยาครอบคลุมได้กว้างขวางเหมาะสำหรับเป็นยาสามัญประจำบ้านแบบไทย ๆ ได้อย่างดียิ่ง

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

ย่านาง สมุนไพรมหัศจรรย์


ใบย่านาง
          ย่านางเป็นพืชสมุนไพร ที่ใช้เป็นอาหารและเป็นยามาตั้งแต่โบราณ หมอยาโบราณภาคอีสาน เรียกชื่อทางยาของย่านางว่า  "หมื่นปี บ่ เฒ่า"  แปลเป็นภาษากลางว่า  "หมื่นปีไม่แก่"  กระผมพบความมหัศจรรย์ของย่านางครั้งแรก  เมื่อคุณแม่ของกระผมตกเลือดจากมดลูกอย่างรุนแรง  หลังจากที่่กระผมตัดสินใจใช้ย่านาง   เป็นสมุนไพรหลักในการบำบัด  อาการของคณแม่ก็ทุเลาลงอย่างรวดเร็วภายใน ๓ วัน  เลือดหยุดไหล  เมื่อใช้ย่านางบำบัดอย่างต่อเนื่องอีก ๓ เดือนต่อมา  มดลูกที่โต ๑๖ เซนติเมตร  ก็ยุบลงเหลือเท่าขนาดปกติ  คือเท่าผลชมพู่  ผิวมดลูกที่ขรุขระเหมือนหนังคางคกก็หายไป  อาการตกขาวก็หายไปด้วย
          ต่อมากระผมทดลองใช้ย่านางกับผู้ป่วยมะเร็งตับ  ผู้ป่วยก็อาการดีขึ้น  เมื่อครบ ๓ เดือน  ไปตรวจอุลตราซาวด์  พบว่ามะเร็งฝ่อลง  จากนั้นก็ทดลองกับผู้ป่วยโรคเกาต์ให้ดื่มน้ำย่านางต่อเนื่อง ๓ เดือน  อาการปวดข้อหายไป  ไปตรวจที่โรงพยาบาลไม่พบโรคเกาต์  ซึ่งทางการแพทย์แผนปัจจุบัน  บอกว่าเป็นโรคที่รักษาไม่หาย  ได้ทดลองกับผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง  หลังจากดื่มน้ำย่านางต่อเนื่อง  พบว่าสามารถลดน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตได้  หลังจากนั้นกระผมได้ข้อมูลจากคนแก่อายุ ๗๗ ปีคนหนึ่งที่ดื่มน้ำย่านางต่อเนื่องกันหนึ่งเดือน  พบว่าผมที่เคยขาวกลับเปลี่ยนเป็นสีเทา และมีสีดำแซม  ลูกสาวของคนแก่ดังกล่าวเชื้อราทำลายเล็บ  รักษาด้วยการทาและกินยาแผนปัจจุบันไม่หาย  พอดื่มน้ำย่านางได้ ๑๐ วัน  ก็ทุเลาอย่างรวดเร็ว  กระผมได้ทดลองให้น้ำย่านางกับผู้ป่วยอีกหลายโรคหลายอาการไม่ว่าจะเป็นอาการไข้ขึ้น  ปวดหัว  ตัวร้อน  ปวดเมื่อยตามร่างกาย  ตุ่ม  ผื่นคัน  และอาการอื่น ๆ  ก็พบว่าอาการทุเลาอย่างรวดเร็ว  กระผมได้ข้อมูลจากผู้ป่วยหลายคนที่ใช้ย่านางไปใช้บำบัดรักษาโรคพบว่า  ไม่ว่าจะเป็นโรคร้ายที่รักษายาก  หรือโรคที่รักษาง่ายหลายโรคหลายอาการย่านางสามารถบำบัดรักษาให้ทุเลาเบาบางหรือหายได้
          ดังนั้น  กระผมจึงได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับย่านาง  เผื่อว่าย่านางอาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยบำบัด  บรรเทาทุกข์จากโรคภัยไข้เจ็บของญาติพี่น้องของเพื่อนร่วมโลกได้บ้าง

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

หิ่งห้อย

      หิ่งห้อย หรือ มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ทิ้งถ่วง (Firefly Glow-wormlightening bug) ซึ่งในโลกนี้มีหิ่งห้อยอยู่ประมาณ 2000 กว่าชนิด หิ่งห้อยเป็นสัตว์ที่ให้แสงเรื่อง ๆ ที่ก้นของมัน และการที่มันพระพริบแสงนั้นเพื่อการผสมพันธุ์และการสื่อสารซึ่งกันและกัน เพื่อน ๆ เคยสังเกตุมั๊ยค่ะว่า หิ่งห้อยเมื่ออยู่รวมกันเป็นฝูงแล้วมันจะกระพริบแสงพร้อม ๆ กัน

หิ่งห้อย